ปลูกผมเทคนิค FUE

- ปลูกผมเทคนิค FUE
- สาเหตุผมร่วง
- ป้องกันและรักษาผมร่วงอย่างไร?
- ปลูกผม FUE คืออะไร ?
- เมื่อไรที่ควรปลูกผม ? ทำไมต้องปลูกผม ?
- ขั้นตอนการปลูกผม FUE
- การดูแลตัวเองหลังการปลูก
- อาการบวมและคันหลังจากปลูกผม
- อาการผมร่วงหลังจากปลูกผม
- การปลูกผมใช้เวลาและพักฟื้นนานหรือไม่ ?
- ทำไมหลังการปลูกผม ผมจึงร่วงก่อนแล้วจึงงอกขึ้นใหม่ / วงจรชีวิตเส้นผม / เส้นผมแต่ละเส้นอยู่กับเรานานแค่ไหน
- ปลูกผม Advanced-FUE ต่างกับ FUE อย่างไร?
- ปลูกผม Advanced-FUE ต่างกับ FUT อย่างไร?
- ปลูกผม Advanced-FUE ต่างกับ DHI อย่างไร?
- ปลูกผม FUE ต่างกับ FUT อย่างไร ?
- ปลูกผม FUE ต่างกัน DHI อย่างไร ?
- ข้อจำกัดของการปลูกผมแบบ FUE
- ข้อดีปลูกผม FUE
- การปลูกผม FUE เหมาะกับใคร ?
- ผลลัพธ์หลังปลูกผม
- ปลูกผม FUE ราคาเท่าไหร่ ?
- กราฟผม คืออะไร ?
- ทำไมต้องปลูกผมที่ โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ?
- รีวิวปลูกผม FUE
> ปลูกผมเทคนิค FUE
ผมหนา เป็นธรรมชาติ แผลเล็ก ไม่ต้องพักฟื้น
ปลูกผมเทคนิค FUE หรือ Follicular Unit Extraction เป็นการปลูกผมถาวรแบบย้ายเซลล์รากผมที่แข็งแรงที่สุด ซึ่งมักจะพบอยู่ในบริเวณหลังศีรษะ หรือบริเวณท้ายทอย ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมน DHT มายังบริเวณที่ต้องการ เช่น กลางศีรษะ เหนือหน้าผาก จอน คิ้ว หรือ หนวด-เครา เป็นต้น โดยการปลูกผมด้วยเทคนิคนี้จะใช้หัวเจาะขนาดเล็กประมาณ 0.8 มม. เจาะลงไปรอบๆรากผมเพื่อดึงกอผมออกมาจากหนังศีรษะและนำมาปักใส่ในช่องเปิดที่เจาะไว้บริเวณที่ต้องการปลูก
> สาเหตุผมร่วง
ปัญหาเส้นผมและหนังศรีษะ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาผมร่วง ผมบาง หัวล้าน หัวเถิก ทั้งในผู้ชาย และในผู้หญิง ล้วนส่งผลให้เสียบุคลิกภาพ และขาดความมั่นใจ โดยมีสาเหตุดังนี้
พันธุกรรม : เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในผู้ชาย ผมร่วงจากพันธุกรรมมักมีรูปแบบเฉพาะ เช่น ผมบางกลางศีรษะหรือหน้าผากร่น ซึ่งผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้านในผู้ชาย เกิดขึ้นได้เร็วมากขึ้น มากกว่า 30% ของผู้ชายไทย วัย 30 ปีขึ้นไป มีปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน และเพิ่มเป็นกว่า 50% เมื่อเข้าสู่อายุ 50 ปี ซึ่งมากกว่า 95% ของผู้ชายที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางมีสาเหตุหลักมาจาก “กรรมพันธุ์” หรือ Androgenetic Alopecia ไม่ใช่ว่าผู้หญิงไม่มีปัญหาผมร่วง ผมบางนะคะ 40% ของผู้หญิงก็มีปัญหาเช่นกัน ซึ่งปัญหาเกิดมาจาก Androgenetic Alopecia (AGA) บริเวณรากผมที่มีความผิดปกติจากฮอร์โมนทำให้เซลล์อ่อนแอและถูกยับยั้งการแบ่งตัวจากผลของ Testosterone ทำให้รากผมฝ่อตัวจนเกิดภาวะผมร่วง ผมบางและหัวล้านในขณะที่เซลล์รากผมในบริเวณที่ผมหนาจะอยู่ในภาวะปกติ ซึ่งเคสส่วนใหญ่ที่เหมาะกับการรักษาคือ ผู้ชายอยู่ใน Stage 1-3 ส่วนในผู้หญิง stage 1-2
ความเครียด : ความเครียดทางร่างกายหรือจิตใจ เช่น การเจ็บป่วย การผ่าตัด การอดนอน หรือความวิตกกังวล อาจทำให้ผมร่วงได้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: เช่น ช่วงหลังคลอดบุตร วัยหมดประจำเดือน หรือภาวะไทรอยด์ผิดปกติ
ภาวะโภชนาการ : การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี หรือโปรตีน อาจส่งผลต่อสุขภาพเส้นผม
โรคบางชนิด : เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคผิวหนัง หรือการติดเชื้อราบนหนังศีรษะ
ผลข้างเคียงจากยา : ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยาต้านซึมเศร้า หรือยาคุมกำเนิด อาจทำให้ผมร่วงได้
การดูแลเส้นผมที่ไม่เหมาะสม : เช่น การมัดผมแน่นเกินไป การใช้สารเคมี การดัด การย้อมผม หรือการใช้ความร้อนกับเส้นผมบ่อยๆ
สภาพแวดล้อม : เช่น มลภาวะ แสงแดด หรือน้ำที่มีคลอรีนสูง
> ป้องกันและรักษาผมร่วงอย่างไร?
- การดูแลตัวเอง
- รับประทานอาหารบำรุงเส้นผม : เน้นอาหารที่มีโปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี และวิตามินอี เช่น เนื้อปลา ไข่ ผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ : อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อให้ร่างกายและเส้นผมชุ่มชื้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ : นอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อคืน
- จัดการความเครียด : ฝึกผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือฟังเพลง
- ดูแลเส้นผมอย่างอ่อนโยน:
- สระผมด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ ใช้น้ำเย็นล้างผม
- เลือกแชมพูและครีมนวดที่เหมาะสมกับสภาพเส้นผม
- ไม่ควรหวีผมขณะผมเปียก ซับผมเบาๆ
- หลีกเลี่ยงการมัดผมแน่น การใช้ความร้อน และสารเคมีกับเส้นผม
- การรักษาทางการแพทย์
- ยาทา: เช่น Minoxidil ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม
- ยารับประทาน: เช่น Finasteride ช่วยลดระดับฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นสาเหตุของผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้ชาย
- การฉีด Platelet Rich Plasma เป็นการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น เพื่อกระตุ้นการงอกของเส้นผม
- การปลูกผม: เป็นการผ่าตัดย้ายรากผม เหมาะสำหรับผู้ที่มีผมร่วงจากพันธุกรรม
- การฉายแสง LED Light Therapy ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และการงอกของเส้นผม
- การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม
- แชมพูและครีมนวด: เลือกสูตรที่ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม และบำรุงรากผมให้แข็งแรง
- เซรั่มบำรุงเส้นผม: ช่วยบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของเส้นผม
> ปลูกผม FUE คืออะไร ?
การปลูกผมแบบ FUE (Follicular Unit Extraction) เป็นการศัลยกรรมอย่างหนึ่ง ด้วยการย้ายเซลล์รากผมบริเวณท้ายทอยไปปลูกถ่ายยังบริเวณที่ต้องการ เทคนิคนี้เป็นเทคนิคไร้แผลเย็บ ไม่ต้องตัดหนังศีรษะออกมาเป็นชิ้นยาว ไม่มีแผลเย็บเหมือนวิธี FUT (Follicular Unit Transplantation) ทั่วไปที่ต้องตัดหนังศีรษะออกมาเป็นชิ้นยาว (Strip) ไม่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล ที่สำคัญคือไม่ทิ้งรอยแผลเป็น เนื่องจากเทคนิคนี้จะใช้อุปกรณ์ในการเจาะที่มีขนาดเล็กมาก แล้วนำเซลล์รากผมออกมาปลูกถ่าย เพื่อให้ได้แนวไรผมที่ต้องการ เห็นผลลัพธ์ทันทีหลังจากที่ทำเสร็จ ใช้ระยะเวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับ จำนวนกราฟที่นำมาปลูกถ่าย วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาศีรษะล้าน ที่ไม่ต้องการใช้เวลาในการพักฟื้นเป็นอย่างมาก
เทคนิคนี้จะเห็นถึงความหนาแน่นของเส้นผมที่เกิดขึ้นมาใหม่ โดยทั่วไปใช้เวลาเห็นผลลัพธ์เต็มที่ประมาณ 6-10 เดือน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองการรักษาของแต่ละเคส การปลูกผม
FUE ช่วยแก้ปัญหาศีรษะล้าน ศีรษะเถิก แก้ไขแนวผมที่อาจสูงเกินไป แก้ปัญหาผมบางจากการที่เซลล์รากผมเสื่อมจนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการรักแบบไม่ผ่าตัดได้ ซึ่งการปลูกผม FUE จะเป็นการแก้ไขปัญหาผมบางอย่างถาวร
ทั้งนี้การปลูกผมด้วยวิธีการดังกล่าวไม่ได้เหมาะกับสภาพผมทุกแบบ การปลูกผมแบบ FUE นั้น ผู้เข้ารับการรักษาจำเป็นต้องมีผมส่วนท้ายทอยที่สมบูรณ์และเพียงพอต่อการปลูกถ่าย หากรากผมไม่แข็งแรงอาจทำให้ผมที่ปลูกถ่ายไม่ได้ผลเต็มที่ หรือถ้ารากผมมีจำนวนน้อยเกินไปก็อาจมีรากผมไม่เพียงพอที่จะให้ผลการรักษาที่สมบูรณ์
> เมื่อไหร่ที่ควรปลูกผม ? ทำไมต้องปลูกผม ?
- การปลูกผมไม่ได้เพียงเป็นแค่การรักษาภาวะ ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน หรือหัวเถิกเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจและปรับปรุงบุคลิกภาพอีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากคุณมีคุณสมบัติดังนี้ คุณควรได้รับการรักษาด้วยการปลูกผม
- ผู้ที่มีภาวะศีรษะล้าน
- ผู้ที่มีลักษณะผมที่บาง
- ผู้ที่สูญเสียเส้นผมบางส่วนจากการไฟไหม้ หรืออาการบาดเจ็บที่หนังศีรษะ
- อีกทั้งการปลูกผมยังมักใช้เพื่อช่วยรักษาปัญหาศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia) ที่เกิดจากการถ่ายทอดยีนศีรษะล้านระหว่างคนในครอบครัว รวมถึงยังใช้ควบคู่กับการรักษาในผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจนทำให้ศีรษะล้าน
> ข้อห้ามในการปลูกผม
ข้อห้ามในการปลูกผมแม้ว่าการปลูกผมจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับปัญหา ผมร่าง ผมบาง หัวล้าน หัวเถิก เสมอไป โดยการปลูกผมด้วยก็ไม่เหมาะกับคนที่มีคุณสมบัติดังนี้
- ผู้ที่มีลักษณะศีรษะล้านแบบกระจัดกระจาย หรือมีการล้านของศีรษะที่กว้าง
- ผู้ที่มีปริมาณผมที่ใช้ในการปลูกไม่เพียงพอ
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่องคีลอยด์หรือแผลเป็นง่ายเมื่อผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บ
- ผู้ที่มีสาเหตุของศีรษะล้านอันเนื่องมาจากการรักษาทางการแพทย์ เช่น เคมีบำบัด
> ขั้นตอนการปลูกผม FUE
ขั้นตอนการปลูกผม FUE
- ตรวจความพร้อมของสุขภาพร่างกายว่ามีความพร้อมสำหรับการรับการปลูกผม
- ออกแบบและวาดแนวผมที่ต้องการปลูก โดยออกแบบจากความต้องการของผู้เข้ารับการรักษา ร่วมกับคำแนะนำของแพทย์
- โกนผมบริเวณท้ายทอยให้สั้นเพื่อสะดวกในการผ่าตัด
- เมื่อเริ่มผ่าตัด แพทย์จะฉีดยาชา และทำการเจาะกราฟผมบริเวณท้ายทอย ให้ได้กราฟที่มีสภาพสมบูรณ์ ไม่ขาดเสียหาย และทิ้งรอยให้เล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
- นำกราฟที่ได้มาทำการเตรียมและเก็บรักษากราฟในน้ำยาชนิดพิเศษภายใต้้อุณหภูมิที่ควบคุมเพื่อให้เซลล์รากผมอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด
- เมื่อถึงขั้นตอนการปลูกผม แพทย์จะเจาะรูในตำแหน่งที่ต้องการปลูก เพื่อกำหนดความหนาแน่น, ตำแหน่งและทิศทางของแนวผมให้เป็นธรรมชาติ โดยปลูกผมทีละกราฟลงไปในตำแหน่งที่กำหนด

> การดูแลตัวเองหลังการปลูก
- พักฟื้นภายหลังการปลูกผมประมาณ 2-3 วัน ซึ่งใน 2-3 วันนี้ แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ รวมถึงทำความสะอาดแผล-ล้างแผล-สระผม-ทุกวัน โดยสามารถกลับไปใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติ ตั้งแต่วันแรกหลังการปลูกผม แต่ยังคงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อผลการรักษาที่สมบูรณ์
- งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 2 วัน หลังการปลูกผม เนื่องจากการสูบบุหรี่จะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังผิวหนัง และทำให้แผลจากการปลูกผมหายช้าลง
- ปิดผ้าพันแผลที่บริเวณหนังศีรษะอย่างน้อย 1-2 วัน และระวังไม่ให้ศีรษะกระทบ กระแทกสิ่งของ
- งดตากแดด หรือโดนแสงแดดเป็นเวลานาน เนื่องจากรังสียูวีจะส่งผลต่อการเติบโตของเส้นผม รวมถึงห้ามอยู่ในที่อากาศร้อนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่เสี่ยงติดเชื้อ
- งดออกกำลังกาย ยกของหนัก หรือก้มหยิบของ อย่างน้อย 7 วัน
- งดว่ายน้ำ และอบซาวน่า หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดเหงื่อ เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณที่ปลูกผม
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด อย่างน้อย 2 วัน หลังการปลูกผม เพราะแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นหลอดเลือดให้ขยายตัว ส่งผลให้เลือดไหลออกได้ง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงการแกะเกาหนังศีรษะ และสะเก็ดแผล เพราะอาจทำให้เลือดออก หรือแผลติดเชื้อ
- รักษาความสะอาดของแผลรวมถึงหนังศีรษะบริเวณอื่นๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยการล้างแผลและสระผมมีขั้นตอนค่อนข้างละเอียดเพื่อป้องกันกราฟท์ผมหลุดออก โดยสามารถสระผมได้ตามปกติหลังปลูกผม 1 เดือน และสามารถใช้เจล หรือมูสแต่งผมได้หลังปลูกผมประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ต้องระวังอย่างให้ถูกแผลปลูกผม รวมถึงสามารถ
ทำสีผมได้หลังปลูกผม 1 เดือน (หากต้องการทำสีผมก่อนการปลูกผม ควรทำสีผมอย่างน้อย 2 วันก่อนปลูกผม)
- นอนยกศีรษะให้สูงขึ้น ประมาณ 45 องศา อย่างน้อย 3 วัน เพื่อลดแรงดันที่อาจทำให้รากผมหลุดร่วงออกมาได้ รวมถึงนอนในท่าที่ไม่กระทบแผลปลูกผม
- ปรึกษาแพทย์ก่อนการทานยาและอาหารเสริม เนื่องจากยาหรืออาหารเสริมบางตัวอาจจะมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจส่งผลให้เกิดอาการเลือดออกบริเวณแผลได้ และอาจจะทำให้รากผมหลุดได้
> อาการบวมและคันหลังจากปลูกผม
อาการบวมและคันหลังจากปลูกผม
อาการบวมและคันหลังการปลูกผมเป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วง 2-3 วันแรก และมักจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์
สาเหตุของอาการบวม
- การอักเสบ: เกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ขณะทำการปลูกผม
- การสะสมของของเหลว: ร่างกายจะส่งของเหลวไปยังบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการบวมได้
- ยาชา: ยาชาที่ใช้ในระหว่างการปลูกผม อาจทำให้เกิดอาการบวมได้
สาเหตุของอาการคัน
- การสมานแผล: ขณะที่แผลกำลังสมานตัว อาจเกิดอาการคันได้
- สะเก็ดแผล: สะเก็ดแผลที่เกิดขึ้น อาจทำให้รู้สึกคัน
- การระคายเคือง: อาจเกิดจากการแพ้ หรือระคายเคืองต่อผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม
วิธีบรรเทาอาการบวมและคัน
- ประคบเย็น: ใช้ผ้าเย็นประคบบริเวณที่บวม วันละหลายๆ ครั้ง ครั้งละ 15-20 นาที
- นอนหนุนหมอนสูง: ช่วยลดอาการบวมบริเวณใบหน้า
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง: เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ
- ทำความสะอาดแผล: ตามคำแนะนำของแพทย์
- หลีกเลี่ยงการเกา: การเกาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และแผลหายช้า
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดการระคายเคือง: เช่น แสงแดด ฝุ่นละออง สารเคมี
- ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง: เช่น ยาทาแก้คัน
อาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์?
- อาการบวม หรือคัน รุนแรงขึ้น
- มีไข้ หนาวสั่น
- แผลมีหนอง หรือเลือดไหล
- มีอาการปวดศีรษะ รุนแรง
- มีอาการอื่นๆ ที่ผิดปกติ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ตามคำแนะนำของแพทย์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- จัดการความเครียด
> อาการผมร่วงหลังจากปลูกผม
อาการผมร่วงหลังจากปลูกผม
อาการผมร่วงหลังการปลูกผมเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย และมักสร้างความกังวลใจให้กับผู้ที่เข้ารับการรักษา แต่ในหลายกรณี เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว และผมใหม่จะงอกขึ้นมาแทนที่
ประเภทของผมร่วงหลังการปลูกผม
- Shock Loss: เป็นผมร่วงที่เกิดขึ้นในช่วง 2-8 สัปดาห์แรกหลังการปลูกผม เกิดจากการบาดเจ็บของรากผม และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งเป็นอาการชั่วคราว ผมใหม่จะงอกขึ้นมาแทนที่ภายใน 3-4 เดือน
- Telogen Effluvium: เป็นผมร่วงที่เกิดจากความเครียด เช่น การผ่าตัด การเจ็บป่วย หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลังการปลูกผม โดยผมจะร่วงมากขึ้น และใช้เวลาในการงอกใหม่นานกว่า
สาเหตุอื่นๆ ของผมร่วงหลังการปลูกผม
- การติดเชื้อ: หากแผลติดเชื้อ อาจทำให้ผมร่วงได้
- การดูแลตัวเองไม่ถูกวิธี: เช่น การเกา การแกะสะเก็ด หรือการใช้สารเคมี
- โรคประจำตัว: เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน
วิธีดูแลตัวเองหลังการปลูกผม เพื่อลดโอกาสการเกิดผมร่วง
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- ดูแลแผลให้สะอาด ตามคำแนะนำของแพทย์
- หลีกเลี่ยงการเกา หรือแกะสะเก็ด
- งดกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
- ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ตามคำแนะนำของแพทย์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- จัดการความเครียด
> การปลูกผมใช้เวลาและพักฟื้นนานหรือไม่ ?
การปลูกผมใช้เวลาและพักฟื้นนานหรือไม่?
- การปลูกผมใช้เวลาประมาณ 6-8ชั่วโมง และพักฟื้นภายหลังการปลูกผมประมาณ 2-3 วัน ซึ่งใน 2-3 วันนี้ แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ รวมถึงทำความสะอาดแผล-ล้างแผล-สระผม-ทุกวัน
โดยสามารถกลับไปใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติ ตั้งแต่วันแรกหลังการปลูกผม แต่ยังคงต้องการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อผลการรักษาที่สมบูรณ์
> ทำไมหลังการปลูกผม ผมจึงร่วงก่อนแล้วจึงงอกขึ้นใหม่ / วงจรชีวิตเส้นผม / เส้นผมแต่ละเส้นอยู่กับเรานานแค่ไหน

ทำไมหลังการปลูกผม ผมจึงร่วงก่อนแล้วจึงงอกขึ้นใหม่ / วงจรชีวิตเส้นผม / เส้นผมแต่ละเส้นอยู่กับเรานานแค่ไหน
โดยปกติเส้นผมบนศีรษะของคนเราแต่ละคนมีมากถึง 100,000 เส้น ซึ่งมีมากที่สุดในช่วงแรกเกิด มีมากกว่า 1,000 รากผม ต่อ 1 ตร.ซม. และจะค่อยๆน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น เหลือเพียงประมาณ 600 รากผม ต่อ 1 ตร.ซม.เมื่ออายุได้ประมาณ 20-30 ปี เหลือประมาณ 500 รากผม ต่อ 1 ตร.ซม.เมื่อเข้าสู่วัยประมาณ 40-50 ปี และเหลือประมาณ 400 รากผม ต่อ 1 ตร.ซม. เมื่อเข้าสู่วัยประมาณ 60-70 ปี
โดยเส้นผมแต่ละเส้นสร้างมาจาก “เซลล์รากผม” ซึ่งอยู่ลึกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ใต้หนังศีรษะจะมีเซลล์ที่ผลิตแกนผมเปลือกนอกของผม นอกจากนี้บริเวณรากผมยังมีเซลล์สร้างเม็ดสี โดยปัจุบันคนเอเชียจะมีผมสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เพราะมีเม็ดสีที่เรียกว่า “ยูเมลานิน” (Eumelanin) ซึ่งมีสีเข้ม แต่คนที่ผมสีทองมียูเมลานิลน้อย ลักษณะของเซลล์เม็ดสีของต่างชาติมีชื่อว่า “ฟีโอเมลานิน” (Pheomelanin) ซึ่งมีสีอ่อนเมื่อระยะเวลาผ่านไปเซลล์เม็ดสีก็ค่อยๆเสื่อมลงหรือตายไป ก็จะเกิดเป็นภาวะที่เรียกว่า“ผมหงอก” นั่นเอง
เส้นผมจะมีวงจรในการเจริญเติบโตทั้งสิ้น 4 ระยะ คือ
1) เติบโต (Anagen Phase) เป็นระยะเวลาที่เส้นผมใหม่งอกขึ้นมา มีระยะเวลายาวนานประมาณ 2 ถึง 6 ปี เมื่ออายุมากขึ้นระยะการเจริญเติบโตจะสั้นลง ในระยะนี้เส้นผมจะยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตรต่อเดือน (90% ของเส้นผมจะอยู่ในระยะเจริญเติบโต 10% ในระยะพักตัว)
2) พักตัว (Catagen Phase) คือ ระยะสิ้นสุดการเจริญเติบโตและเส้นผมจะเข้าสู่ระยะพักตัว ในระยะนี้เส้นผมจะแยกตัวจากหลอดเลือดที่มาหล่อเลี้ยง ค่อยๆขาดสารอาหารและเตรียมที่จะร่วงระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ (10% ของเส้นผมอยู่ในระยะพัก)
3) หยุดการเจริญเติบโต (Telogen Phase) ต่อมรากผมจะเลื่อนตัวขึ้นไป ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน (10-15% ของเส้นผมระยะหยุดการเจริญเติบโต) ถ้ามีอะไรมาขัดขวางการเจริญของผมใหม่หรือเร่งให้ผมอยู่ในระยะพักเร็วขึ้นก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วง มากกว่าที่ผมจะขึ้น ผมอาจจะบางลง หนังศรีษะอาจเกิดการผิดปกติ ทำให้หัวล้านได้
4) (Early Anagen) ระยะนี้ เป็นระยะที่จะมีเส้นผมที่งอกขึ้นมาใหม่ดันให้ผมเก่าร่วงออกไป และกลับเข้าสู่ระยะที่ 1) ต่อไป
โดยปกติ หลังการปลูกผม ผมที่ปลูกจะค่อยๆร่วงพร้อมกับสะเก็ดก็หลุดออกจนหมดใน 1-2 เดือนหลังการปลูกผม เหมือนกับเราไม่ได้ปลูกผมเลย หรือที่เรียกกันว่า Shock loss ซึ่งป็นช่วงที่ผมเข้าสู่ช่วงระยะพักตัว (Catagen Phase) (ซึ่งจะร่วงเฉพาะเส้นผม แต่เซลล์รากผม เซลล์ยังคงฝังอยู่ในหนังศีรษะ) เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 4-6 หลังการปลูกผม ผมเส้นใหม่ที่แข็งแรงจะค่อยๆงอกและยาวขึ้น จนหนาแน่นเป็นธรรมชาติตั้งแต่เดือนที่ 6-10 เป็นต้นไป (ปกติจะเห็นผลชัดเจนประมาณเดือนที่ 12)
> ปลูกผม Advanced-FUE ต่างกับ FUT อย่างไร?
ลักษณะ | Advanced-FUE (Advanced-Follicular Unit Extraction) | FUT (Follicular Unit Transplantation) |
วิธีการ | – เจาะเก็บรากผมทีละกอจากบริเวณท้ายทอย – นำรากผมที่เก็บได้ไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ | – ตัดแถบหนังศีรษะจากบริเวณท้ายทอย – แยกเซลล์รากผมออกจากแถบหนังศีรษะ – นำรากผมไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ |
แผลเป็น | – แผลเป็นจุดเล็กๆ มองเห็นได้ยาก | – แผลเป็นแนวเส้นตรงบริเวณท้ายทอย |
ระยะเวลาพักฟื้น | – ฟื้นตัวเร็ว – แผลหายเร็ว | – ใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า – แผลหายช้ากว่า |
ความเจ็บปวด | – เจ็บน้อยกว่า | – เจ็บมากกว่า |
จำนวนกราฟที่ได้ | – ได้จำนวนกราฟน้อยกว่า | – ได้จำนวนกราฟมากกว่า |
ข้อดี | – แผลเป็นเล็ก มองเห็นได้ยาก – ฟื้นตัวเร็ว – เจ็บน้อยกว่า | – ได้จำนวนกราฟผมมากกว่า |
ข้อเสีย | – ได้จำนวนกราฟผมน้อยกว่า | – แผลเป็นเห็นชัดเจน – ใช้เวลาพักฟื้นนาน – เจ็บมากกว่า |
เหมาะกับ | – ผู้ที่ต้องการปลูกผมจำนวนไม่มาก – ผู้ที่ต้องการแผลเป็นขนาดเล็ก – ผู้ที่ต้องการพักฟื้นเร็ว – ผู้ที่ไว้ผมสั้น | – ผู้ที่ต้องการปลูกผมจำนวนมาก |
> ปลูกผม Advanced-FUE ต่างกับ DHI อย่างไร?
การปลูกผมแบบ Advanced-FUE (Advanced-Follicular Unit Extraction) และ DHI (Direct Hair Implantation) เป็นเทคนิคการปลูกผมที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยทั้งคู่เป็นการเจาะเก็บรากผมทีละกอ แต่มีความแตกต่างกันในขั้นตอนการปลูกผม ซึ่งส่งผลต่อข้อดี ข้อเสีย และความเหมาะสมกับผู้เข้ารับการรักษา
ลักษณะ | Advanced-FUE (Advanced-Follicular Unit Extraction) | DHI (Direct Hair Implantation) |
วิธีการ | – เจาะเก็บรากผมทีละกอ – ใช้ใบมีดเล็กๆ กรีดเปิดรู บนหนังศีรษะ – นำรากผมที่เก็บได้ไปปลูกในรูที่เตรียมไว้ | – เจาะเก็บรากผมทีละกอ – ใช้ปากกาปลูกผม (Implanter Pen) ใส่รากผมและปลูกผมในขั้นตอนเดียว |
ระยะเวลา | – ใช้เวลานานกว่า DHI | – ใช้เวลาน้อยกว่า Advanced-FUE |
ความหนาแน่น | – อาจได้ความหนาแน่นน้อยกว่า DHI | – ได้ความหนาแน่นมากกว่า Advanced-FUE |
การฟื้นตัว | – ฟื้นตัวเร็ว | – ฟื้นตัวเร็ว |
ราคา | – ราคาถูกกว่า DHI | – ราคาสูงกว่า Advanced-FUE |
ข้อดี | – ราคาถูกกว่า – แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว | – ได้ความหนาแน่นของเส้นผมมากกว่า – ควบคุมทิศทาง มุม และความลึกของรากผมได้แม่นยำ – ลดโอกาสการเกิดแผลเป็น และการบาดเจ็บของรากผม – แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว |
ข้อเสีย | – อาจได้ความหนาแน่นน้อยกว่า – ควบคุมทิศทางของรากผมได้น้อยกว่า | – ราคาสูงกว่า |
เหมาะกับ | – ผู้ที่ต้องการปลูกผมจำนวนไม่มาก – ผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย | – ผู้ที่ต้องการปลูกผมจำนวนมาก – ผู้ที่ต้องการความหนาแน่นสูง – ผู้ที่ต้องการผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติ |
DHI เป็นเทคนิคการปลูกผมที่พัฒนาต่อยอดมาจาก FUE โดยเน้นความแม่นยำ ความหนาแน่น และผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติ แต่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเลือกวิธีเหมาะสม ควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพเส้นผม งบประมาณ และความต้องการ รวมถึงปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินสภาพเส้นผม และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
> ปลูกผม FUE ต่างกับ FUT อย่างไร ?
ปลูกผม FUE ต่างกับ FUT อย่างไร?
การปลูกผมแบบ FUE (Follicular Unit Extraction) และ FUT (Follicular Unit Transplantation) ต่างก็เป็นเทคนิคการปลูกผมถาวรที่ได้รับความนิยม แต่มีขั้นตอนการดำเนินการที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีข้อดี ข้อเสีย และความเหมาะสมกับผู้เข้ารับการรักษาที่แตกต่างกัน
> ปลูกผม FUE ต่างกัน DHI อย่างไร ?
ปลูกผม FUE ต่างกับ DHI อย่างไร?
การปลูกผมแบบ FUE (Follicular Unit Extraction) และ DHI (Direct Hair Implantation) เป็นเทคนิคการปลูกผมที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยทั้งคู่เป็นการเจาะเก็บรากผมทีละกอ แต่มีความแตกต่างกันในขั้นตอนการปลูกผม ซึ่งส่งผลต่อข้อดี ข้อเสีย และความเหมาะสมกับผู้เข้ารับการรักษา
> ข้อจำกัดของการปลูกผมแบบ FUE
ข้อจำกัดของการปลูกผมแบบ FUE
แม้ว่าการปลูกผมแบบ FUE จะเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมและมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจ ดังนี้
- จำนวนกราฟที่จำกัด: การปลูกผมแบบ FUE จะได้จำนวนกราฟผมน้อยกว่า FUT เนื่องจากเป็นการเจาะเก็บรากผมทีละกอ ซึ่งอาจไม่เพียงพอสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงหรือศีรษะล้านในบริเวณกว้าง
- ใช้เวลานาน: การเจาะเก็บรากผมทีละกอ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ขึ้นอยู่กับจำนวนกราฟที่ต้องการปลูก
- รากผมอาจเสียหาย: ในขั้นตอนการเจาะเก็บรากผม อาจเกิดความเสียหายต่อรากผมได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ และเครื่องมือที่ใช้
- ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง: เช่น สุขภาพของรากผม สภาพหนังศีรษะ และการดูแลตัวเองหลังการปลูกผม ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม และผลลัพธ์ที่ได้
- ไม่เหมาะกับทุกคน: FUE อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผมบางมาก หรือมีรากผมไม่แข็งแรง
- อาจเกิดรอยแผลเป็น: แม้ว่าแผลเป็นจาก FUE จะมีขนาดเล็ก แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากแพทย์ไม่มีความชำนาญ
- ผมบริเวณท้ายทอยอาจบางลง: เนื่องจากเป็นการนำรากผมจากท้ายทอยมาปลูก ซึ่งอาจทำให้ผมบริเวณท้ายทอยบางลงได้ หากนำรากผมออกมามากเกินไป
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจปลูกผมแบบ FUE ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินสภาพเส้นผม ความเหมาะสมในการรักษา และพูดคุยถึงความคาดหวัง รวมถึง ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
> ข้อดีปลูกผม FUE
ข้อดีปลูกผม FUE
การปลูกผมแบบ FUE (Follicular Unit Extraction) เป็นเทคนิคการปลูกผมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ด้วยข้อดีหลายประการ ที่ทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้าน
- แผลเป็นขนาดเล็ก มองเห็นได้ยาก: การปลูกผม FUE เป็นการเจาะเก็บรากผมทีละกอ จึงไม่ทำให้เกิดแผลเป็นขนาดใหญ่ มีเพียงรอยแผลเล็กๆ ซึ่งจะหายไปเองตามธรรมชาติ และมองเห็นได้ยาก แม้จะตัดผมสั้น
- ฟื้นตัวเร็ว: แผลหลังการปลูกผม FUE มีขนาดเล็ก จึงใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่นาน ผู้เข้ารับการรักษาสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยไม่ต้องพักฟื้นนาน
- เจ็บน้อยกว่า: เทียบกับการปลูกผมแบบ FUT ซึ่งต้องตัดแถบหนังศีรษะ การปลูกผม FUE เจ็บน้อยกว่ามาก
- ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน: เช่น การติดเชื้อ หรือแผลเป็นนูน
- ผลลัพธ์ดูเป็นธรรมชาติ: ผมที่ปลูกใหม่จะงอกขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติ กลมกลืนกับเส้นผมเดิม
- สามารถปลูกผมได้ในหลายบริเวณ: เช่น ศีรษะ คิ้ว หนวด เครา
- ไม่จำเป็นต้องโกนผมทั้งหมด: สามารถเลือกโกนผมเฉพาะบริเวณที่ต้องการปลูกได้
> การปลูกผม FUE เหมาะกับใคร ?
การปลูกผม FUE เหมาะกับใคร?
- ผู้ที่ต้องการปลูกผมจำนวนไม่มาก
- ผู้ที่ต้องการแผลเป็นขนาดเล็ก มองเห็นได้ยาก
- ผู้ที่ต้องการพักฟื้นเร็ว
- ผู้ที่ไว้ผมสั้น
- ผู้ที่ต้องการปลูกผมในบริเวณเล็กๆ เช่น คิ้ว หนวด เครา
> ผลลัพธ์หลังปลูกผม
ผลลัพธ์หลังปลูกผม
การปลูกผม FUE เป็นการรักษาผมบาง ศีรษะล้านแบบถาวรอย่างยั่งยืน เพราะผมที่ท้ายทอยนั้นได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนซึ่งพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงที่ส่งผลให้ผมร่วง (โดยปกติฮอร์โมน DHT จะส่งผลต่อการร่วงของผมที่บริเวณกลางศีรษะและบริเวณแนวไรผมด้านหน้าเหนือหน้าผาก) ดังนั้นผมที่ถูกย้ายมาจากบริเวณท้ายทอยจะไม่ถูกฮอร์โมน DHT โจมตี และไม่เกิดการหลุดร่วงจากฮอร์โมนอีก
> ปลูกผม FUE ราคาเท่าไหร่ ?
ปลูกผม FUE ราคาเท่าไหร่?
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 49,999 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวน ‘กราฟ’ ที่ใช้ในการปลูกผม และเทคนิคที่ใช้ปลูกผม
สำหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกผมอย่างละเอียด สามารถติดต่อสอบถามเพื่อรับคำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ แผนกผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาลนวมินทร์ 9
> กราฟผม คืออะไร ?
กราฟผม คืออะไร?
กราฟผม คือ หน่วยของรากผมที่ถูกนำมาใช้ในการปลูกผม โดยปกติแล้ว รากผมจะงอกขึ้นมาเป็นกลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่ม อาจมีรากผมตั้งแต่ 1-4 เส้น
กราฟผม
ในการปลูกผม แพทย์จะนำกราฟผมจากบริเวณท้ายทอย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความแข็งแรง และทนทานต่อการหลุดร่วง มาปลูกถ่ายในบริเวณที่ต้องการ เช่น บริเวณศีรษะล้าน หรือแนวผมที่เถิก
จำนวนกราฟผมที่ใช้ในการปลูกผม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น
- ขนาดของพื้นที่ที่ต้องการปลูก: พื้นที่ที่กว้างกว่า ก็จะต้องใช้กราฟผมจำนวนมากขึ้น
- ความหนาแน่นของเส้นผมที่ต้องการ: หากต้องการความหนาแน่นมาก ก็ต้องใช้กราฟท์ผมมากขึ้น
- คุณภาพของเส้นผม: เส้นผมที่แข็งแรง จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า และอาจใช้กราฟผมน้อยลง
การประเมินจำนวนกราฟผม แพทย์จะเป็นผู้ประเมิน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น รวมถึง สภาพเส้นผม และความต้องการของผู้เข้ารับการรักษา
ข้อควรรู้เกี่ยวกับกราฟผม
- กราฟผมมีอายุ: หลังจากที่กราฟผมถูกนำออกจากหนังศีรษะ จะมีอายุอยู่ได้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น แพทย์จะต้องรีบนำกราฟท์ผมไปปลูกถ่าย เพื่อให้รากผมยังคงแข็งแรง และสามารถเจริญเติบโตได้
- กราฟผมมีราคา: ราคาของการปลูกผม จะขึ้นอยู่กับจำนวนกราฟผมที่ใช้ ดังนั้น ควรสอบถามราคา และรายละเอียดต่างๆ กับคลินิก ก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษา
> ทำไมต้องปลูกผมที่ โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ?
ทำไมต้องปลูกผมที่ โรงพยาบาลนวมินทร์ 9?
- โรงพยาบาลได้รับรองมาตรฐาน JCI จากประเทศอเมริกา
- ทุกขั้นตอนในโรงพยาบาล ได้มาตรฐาน
- ทุกขั้นตอนโดยแพทย์และผู้ชำนาญการ
- ห้องผ่าตัดได้มาตรฐานโรงพยาบาลระดับสากล
- ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ต้องนอนค้าง รพ.
- ออกแบบแนวไรผมเฉพาะบุคคล ดูเป็นธรรมชาติ
- แทบไร้รอยแผลเป็น ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องเจ็บตัว
- ทำเพียงครั้งเดียว อยู่ได้ตลอด ไม่ต้องทำซ้ำ
- ทีมแพทย์และบุคลากรพร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
- ติดตามอาการและดูแลต่อเนื่อง ไม่มีค่าใช้จ่าย
- รับประกัน 1 ปีเต็ม ไม่ขึ้นปลูกให้ใหม่